วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

วัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

ประชาชนในจังหวัดชัยภูมิ ประมาณร้อยละ 95 เป็นคนท้องถิ่นเดิม มีวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งมีลักษณะผสมผสาน ระหว่างความเชื่อดั้งเดิมของท้องถิ่น กับหลักปฏิบัติทางพุทธศาสนา ประกอบกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของจังหวัด มีลักษณะเด่นชัด ที่เน้นและเชิดชูวีรกรรม ความซื่อสัตย์ กตัญญู ของเจ้าพ่อพระยาแล ทำให้มีงานประจำ และงานประเพณี ซึ่งแสดงถึงวัฒนธรรมของจังหวัดดังต่อไปนี้
 
งานประจำปีฉลองอนุสาวรีย์เจ้าพระยาแล

จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของเจ้าพ่อพระยาแลผู้สร้างเมืองชัยภูมิคนแรก จัดระหว่างวันที่ 12-20 มกราคมของทุกปี ที่บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัด และสี่แยกอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพระยาแล ในการจัดงานนี้ประกอบด้วย พิธีบวงสรวงดวงวิญญาณของเจ้าพ่อพระยาแล ขบวนแห่สักการะอนุสาวรีย์เจ้าพ่อ ขบวนถวายช้างแด่เจ้าพ่อ และขบวนแห่ของอำเภอต่างๆ รวมทั้งการออกร้าน จัดนิทรรศการของหน่วยราชการและเอกชน การประกวดผลิตผลทางการเกษตร

งานประเพณีบวงสรวงเจ้าพ่อพระยาแล

ที่บริเวณศาลหนองปลาเฒ่า จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-20 พฤษภาคม ของทุกปี ชาวบ้านจะไปเคารพสักการะดวงวิญญาณของเจ้าพ่อ และรำถวายเจ้าพ่อที่ศาลหลังเก่ากันเป็นจำนวนมาก

ประเพณีรำผีฟ้า

เป็นการรำบวงสรวงเป็นกลุ่มๆ ที่ภูพระ ซึ่งมีพระเจ้าองค์ตื้อ เป็นพระพุทธรูปแกะสลักในหินทราย สูงประมาณ 2 เมตร ชาวบ้านถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก การรำบวงสรวงนี้จะมีขึ้นในระหว่างวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 5 คือเดือนเมษายน และในวันเข้าพรรษา ออกพรรษา ซึ่งจะมีประชาชนไปทำบุญกันมาก


งานแห่เทียนเข้าพรรษา

วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 (ประมาณเดือนกรกฎาคม) เป็นงานที่เทศบาลเมืองชัยภูมิจัดขึ้นทุกปี มีการประกวดเทียนพรรษาที่ประดิษฐ์อย่างสวยงาม เป็นงานที่มีประชาชนให้ความสนใจไม่แพ้งานแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี

นอกจากนี้ยังมีงานประเพณีอื่นๆ ที่จัดเป็นประจำทุกปี เช่นเดียวกับจังหัดในภาคอีสาน เช่น งานบุญบั้งไฟ หรือบุญเดือนหก ประมาณเดือนพฤษภาคม งานบุญข้าวจี่ เป็นการฉลองเมื่อเสร็จสิ้นการทำนา ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ งานบุญพระเวช หรืองานบุญเดือนสี่ ประมาณเดือนมีนาคม มีการเทศน์มหาชาติ

วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555

บุคคลสำคัญของจังหวัดชัยภุมิ


นักแสดง

 นักมวย

 นักร้อง

 ดีเจ/นักจัดรายการวิทยุ

วงดนตรี

กีฬา

นักการเมือง


 

 

ภิกษุสงฆ์

พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต (นครไธสง) หรือที่รู้จักกันดีทั่วไปในนาม "พระมหาสมปอง" เป็นพระนักเทศน์ชื่อดังอีกท่านหนึ่งของเมืองไทย ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2521 และบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ เมื่อ พ.ศ. 2541 ปัจจุบันพระมหาสมปองจำพรรษาอยู่ที่วัดสร้อยทอง (พระอารามหลวง) กรุงเทพมหานคร
พระมหาสมปอง เป็นพระนักเผยแผ่พระพุทธศาสนารุ่นใหม่ และนักบรรยายธรรมที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และเป็นนักเขียนที่ผลิตผลงานและหนังสือออกมาอย่างสม่ำเสมอในยุคปัจจุบัน จนได้รับพิจารณาให้ได้รับรางวัลนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากองค์กรต่าง ๆ มากมาย เช่นรางวัลพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีฯ ในงานสัปดาห์พระพุทธศาสนาวิสาขบูชาประจำปี 2551 เป็นต้น

สินค้า TOP และสินค้าพื้นเมือง


ชื่อสินค้ารายละเอียดสินค้าตำบล
ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าไหมมัดหมี่(OTOP)*กลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่ 62/2 หมู่ 2 ตำบลโนนแดง อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ 36170 ติดต่อ : นางคำตัน วงษ์คำ โทร : 09 6763246  
ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าไหมมัดหมี่(OTOP)*กลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่ (นายปิยะ) 595 หมู่ 2 ตำบลบ้านเขว้า อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ 36170 ติดต่อ : นายปิยะ เขว้าชัย โทร : 044 891308  
ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าไหมมัดหมี่(OTOP)*กลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่ (นางอำพร) 500 หมู่ 2 ตำบลบ้านเขว้า อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ 36170 ติดต่อ : นางอำพร แก้วแกมทอง โทร : 044 839480  
ผ้าไหมมัดหมี่  ผ้าไหมมัดหมี่(OTOP)*กลุ่มร้านนัดพบผ้าไหม 542/2 หมู่ 1 ตำบลบ้านเขว้า อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ 36170 ติดต่อ : นางสมร ชัยสร โทร : 044 891037, 01 0687545
ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าไหมมัดหมี่(OTOP)*กลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่ (นางสงวน) 253 หมู่ 2 ตำบลบ้านเขว้า อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ 36170 ติดต่อ : นางสงวน เอกบัว โทร : 044 839882  
ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าไหมมัดหมี่(OTOP)*กลุ่มสตรีสหกรณ์ทอผ้าไหมสีธรรมชาติบ้านเขว้า 575 หมู่ 1 ตำบลบ้านเขว้า อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ 36170 ติดต่อ : นางจอมศรี สิงห์เผ่น โทร : 044 839159, 01 8799300, 01 7186852  
ผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติ ผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติ(OTOP)(APEC)กลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติ 691/1 หมู่1 ตำบลบ้านเขว้า อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ 36170 โทร :044 839296,01 9668515
ผ้าไหมสอดโบว์ ผ้าไหมสอดโบว์(OTOP)*กลุ่มทอผ้าไหมสอดโบว์ (นางปาเป้า) 30/2 หมู่ 1 ตำบลบ้านเขว้า อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ 36170 ติดต่อ : นางปาเป้า ปิ่นสุวรรณ โทร : 01 9975621  
มะกรูดแห้งดับกลิ่น มะกรูดแห้งดับกลิ่น(OTOP)(APEC)ชุมชนน้อมเกล้าสามัคคีพัฒนาเทศบาลตำบลจตุรัส 202/2 หมู่2 ตำบลบ้านกอก อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ 36130 ติดต่อ: คุณกชกร ขวัญพิชัย โทร :06 6417346,044 851233  
เสื้อคลุมสตรี (นางทองเรือง) เสื้อคลุมสตรี (นางทองเรือง)(OTOP)*กลุ่มเสื้อคลุมสตรี (นางทองเรือง) 352 หมู่ 6 ตำบลหนองตูม อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ 36110 ติดต่อ : นางทองเรือง แขมภูเขียว โทร :09 5830538


ผ้ามัดหมี่โทเร ผ้ามัดหมี่โทเร(OTOP)*กลุ่มสตรีทอผ้ามัดหมี่ 30 หมู่ 4 ต.บ้านโสก อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ 36140 ติดต่อ : นางสีดา จันทรโสม โทร :044 848188  
ผ้าย้อมสีธรรมชาติ ผ้าย้อมสีธรรมชาติ (OTOP)* (Coop)กลุ่มสตรีสหกรณ์บ้านหนองดินดำ 483 หมู่ 14 บ้านหนองดินดำ ต.บ้านแก้ง อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ 36110 ติดต่อ : คุณพรสุรีย์ สาทแก้ว โทร : 01 9653602,01 3219117,044 741977  
ผ้าไหม ผ้าไหม(OTOP)*กลุ่มอาชีพสตรีทอผ้าไหม 263 หมู่ 1 บ้านาเสียว ต.นาเสียว อ.เมือง จ.ชัยภูมิ 36000 ติดต่อ : นางจุไรรัตน์ ชาวนาเสียว โทร : 044 884068, 095816133  
ผ้าไหม 2 ตะกอประยุกต์ ผ้าไหม 2 ตะกอประยุกต์(นางสมพาน)(OTOP)*กลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติ 691/1 หมู่1 ตำบลบ้านเขว้า อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ 36170 โทร :044 839296,01 9668515  
ผ้าไหมพื้น 2 ตะกอ 4 เส้น
ผ้าไหมพื้น 2 ตะกอ 4 เส้น(OTOP)*กลุ่มทอผ้าไหมคุ้มบ้านใหม่ 24/2 หมู่1 ตำบลบ้านเขว้า อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ 36170 ติดต่อ : นางละเอียด ขำชัยภูมิ โทร :044 891056,01 9553996  
ผ้าไหมพื้นเมืองผ้าไหมพื้น 4 เส้น 2 ตะกอ เนื้อมันวาวใช้ได้ทนทาน เป็นภูมิปัญญาไทย(OTOP)(APEC)กลุ่มทอผ้าไหมคุ้มบ้านใหม่ 24/2 หมู่1 ตำบลบ้านเขว้า อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ 36170 ติดต่อ : นางละเอียด ขำชัยภูมิ โทร :044 891056,01 9553996  
ผ้าไหมพื้นเรียบ ผ้าไหมพื้นเรียบ(OTOP)*เครือข่ายกลุ่มอาชีพตำบลบ้านโสก 50 หมู่ 11 บ้านโสก ต.บ้านโสก อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ 36140 ติดต่อ : นางอุไรวรรณ สุรฤทธิพงศ์ โทร : 044 889027,889027, 01 7188875  
ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าไหมมัดหมี่(OTOP)*กลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่ 177 หมู่ 2 ตำบลกุดเลาะ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ 36120 ติดต่อ : นางบุญน้อม ศิริกุล โทร : 01 7189833  
ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าไหมมัดหมี่(OTOP)*กลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่ เลขที่ 155/7 หมู่ 1 ตำบลบ้านเขว้า อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ 36170 ติดต่อ : นางอรุณี กิตติคุณ โทร :044 891079  
ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าไหมมัดหมี่(OTOP)*กลุ่มสตรีแม่บ้านเขว้า 108/1 หมู่1 บ้านเขว้า ตำบลบ้านเขว้า อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ 36170 ติดต่อ : คุณกิระ ศรีพิลัย โทร :044 839263  
เสื้อคลุมสตรี/สูทชาย เสื้อคลุมสตรี/สูทชาย(OTOP)*(Coop)กลุ่มสตรีสหกรณ์บ้านโนนทัน2 216 หมู่5 ต.หนองตูม อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ 36110 ติดต่อ: นางประยัติ จิตรโคตร โทร :044 811578 (พัฒนาชุมชนจังหวัด)  
เสื้อยืดแขนสั้นคอโปโล เสื้อยืดแขนสั้นคอโปโล(OTOP)กลุ่มเสื้อยืดแขนสั้นคอโปโล 20/4 หมู่ 1 ตำบลลุ่มลำชี อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ 36170 ติดต่อ : นางคำ ภูมิสถาน โทร : 044 850404  
หมวกนายฮ้อย หมวกนายฮ้อย(OTOP)*กลุ่มอาชีพบ้านหนองแวง หมู่ที่ 4 เลขที่ 23 บ้านหนองแวง หมู่ที่ 4 ต.นาฝาย อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ 36000 ติดต่อ : นายอุทาม ตาปราม โทร :(044)812209  
   

กล้วยกวน(OTOP)*
ตำบลเจาทอง อำเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ

เครื่องประดับ(OTOP)*
ตำบลวังทอง อำเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ

โบราณสถานและแหล่งท่องเที่ยว


ปรางค์กู่ ตั้งอยู่ที่บ้านหนองบัว ตำบลในเมือง จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 202 (ชัยภูมิ-บัวใหญ่) ประมาณ 1 กิโลเมตร มีทางแยกขวาเข้าปรางค์กู่ตามทางหลวง 2158 เป็นระยะทางอีก 2 กิโลเมตร
ปรางค์กู่เป็นปราสาทหินสมัยขอม ที่มีแผนผังและลักษณะเช่นเดียวกับปราสาทอื่นที่เป็น อโรคยาศาล หรือสถานพยาบาลที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 นั่นคือ มีปรางค์ประธานอยู่ตรงกลาง 1 องค์ วิหารหรือบรรณาลัยด้านหน้า 1 หลัง ล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง นอกกำแพงตรงมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำ 1 สระ ปรางค์ประธานมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 5 เมตร ย่อมุมไม้สิบสอง ด้านหน้ามีประตูเข้าออกทำเป็นมุขยื่นออกมา ผนังปรางค์อีก 3 ด้านเป็นประตูหลอก เหนือประตูหลอกด้านทิศเหนือยังคงมีทับหลังติดอยู่ จำหลักภาพตรงกลางเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิเหนือหน้ากาล ซึ่งจับท่อนพวงมาลัยไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง ด้านหน้ามีทับหลังเช่นกันแต่ลบเลือนไปมาก ที่ช่องประตูหลอกด้านทิศเหนือ มีพระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ ศิลปะแบบทวารวดี สูง 1.75 เมตร ประดิษฐานอยู่ โดยเคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น ชาวชัยภูมิให้การเคารพสักการะ มีการจัดงานประจำปีในช่วงกลางเดือน 5 ของทุกปี
              ใบเสมาบ้านกุดโง้ง เก็บรักษาอยู่ภายในบริเวณโรงเรียนวัดกุดโง้ง ตำบลกุดตุ้ม จากตัวเมืองชัยภูมิไปตามทางหลวงหมายเลข 202 ประมาณ 12 กิโลเมตร มีทางแยกขวาไปอีก 3 กิโลเมตรถึงบ้านกุดตุ้ม แล้วแยกขวาเข้าเส้นทางสาย กุดตุ้ม-บุ่งคล้า อีก 4 กิโลเมตร ใบเสมาหินทรายศิลปทวารวดีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-15 ที่พบเป็นจำนวนมากในบริเวณรอบๆ หมู่บ้านได้ถูกนำมารวบรวมไว้ในอาคารอย่างเป็นระเบียบ ส่วนมากมีลักษณะเป็นแผ่นใหญ่ ด้านหน้าจำหลักลายและบางแผ่นมีจารึกอยู่ที่ด้านหลังด้วย ลวดลายที่ปรากฏเป็นเรื่องราวทางพุทธศาสนา เล่าเรื่องชาดกตอนต่างๆ หรือเป็นภาพรูปเคารพ เช่น ภาพพระโพธิสัตว์ประทับยืนบนดอกบัว ภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งบนบัลลังก์ใต้ต้นโพธิ์ นับเป็นกลุ่มเสมาที่สวยงามแห่งหนึ่งในอีสาน

 
             จุดชมวิวเทือกเขาพังเหย ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 225 ห่างจากตัวเมืองชัยภูมิ 75 กิโลเมตร เป็นที่แวะพักผ่อนระหว่างเดินทาง มีร้านอาหารของชาวบ้านและศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

อุทยานแห่งชาติไทรทอง ครอบคลุมพื้นที่ป่าบนเทือกเขาพังเหย ในอำเภอหนองบัวระเหว เทพสถิต ภักดีชุมพล และหนองบัวแดง มีเนื้อที่ 319 ตารางกิโลเมตร เป็นป่าต้นน้ำลำธารของลำห้วยหลายสาย ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำชี สภาพป่าเป็นป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ผสมกับป่าเบญจพรรณ มีต้นไผ่รวกขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์สวยงาม ภายในเขตอุทยานฯ มีสถานที่น่าสนใจคือ

น้ำตกไทรทอง ห่างจากที่ทำการ 1 กิโลเมตรไปตามทางรถยนต์และเดินเท้าอีก 400 เมตร เป็นน้ำตกชั้นเตี้ยๆ สูงเพียง 5 เมตรแต่มีความกว้างประมาณ 80 เมตร ด้านหน้าเป็นแอ่งน้ำใหญ่ สามารถลงเล่นน้ำได้ เหนือน้ำตกมีวังน้ำขนาดใหญ่เรียกว่า วังเงือก สายน้ำไหลไปตามแก่งหินที่ลาดต่ำลงที่ละน้อย มีความยาวไม่ต่ำกว่า 100 เมตร

น้ำตกชวนชม อยู่เหนือน้ำตกไทรทองไปตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติ 2 กิโลเมตร น้ำตกมีความสูง 20 เมตร รอบบริเวณมีต้นไม้ร่มรื่น

ผาพ่อเมือง เป็นแนวหน้าผาตามสันเขาพังเหยด้านตะวันตก ตามเส้นทางขึ้นสู่ทุ่งบัวสวรรค์ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 700-900 เมตร มองลงไปเป็นตัวอำเภอภักดีชุมพลและเทือกเขาพญาฝ่อ ที่กั้นระหว่างชัยภูมิกับเพชรบูรณ์

ผาหำหด ห่างจากที่ทำการอุทยานฯประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นสันเขาตรงจุดสูงสุดของเทือกเขาพังเหย สูงจากระดับน้ำทะเล 864 เมตร เป็นจุดชมวิวมองเห็นทิวทัศน์สวยงาม และมีชะง่อนหินยื่นออกไปจากหน้าผา เป็นจุดที่ถ่ายภาพได้สวยงามน่าหวาดเสียว

ทุ่งบัวสวรรค์ หรือ ทุ่งดอกกระเจียว อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 12 กิโลเมตร ในช่วงปลายเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนสิงหาคม ต้นกระเจียวจะออกดอกสวยงามเต็มทุ่ง มีทั้งดอกสีชมพูและสีขาว นอกจากนี้ ในช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคมบริเวณนี้จะมีพรรณไม้จำพวกดุสิตา สร้อยสุวรรณา กระดุมเงิน กระดุมทอง ขึ้นอยู่ทั่วบริเวณ การเดินทางไปทุ่งดอกกระเจียวสามารถขับรถ หรือเช่ารถกระบะจากที่ทำการอุทยานฯ ไปยังลานจอดรถและลานกางเต็นท์ ระยะทาง 9 กิโลเมตร ค่าเช่ารถคันละ 500 บาทและจากนั้นเป็นเส้นทางเดินเท้าผ่านผาพ่อเมือง ผาหำหด ผาเพลินใจ ทุ่งบัวสวรรค์ 2 (ดอกกระเจียวสีชมพู) ทุ่งดอกกระเจียวขาว ผาอาทิตย์อัสดง ตามลำดับ ระยะทางเดินเท้าจากลานจอดรถไปผาหำหด 300 เมตร และไปทุ่งบัวสวรรค์สีชมพูและสีขาว เป็นระยะทางอีก 1,300 เมตร และ 700 เมตร ตามลำดับ ช่วงที่มีดอกกระเจียวเป็นช่วงฤดูฝน ควรเตรียมร่มหรือเสื้อกันฝนติดตัวไปด้วย


มอหินขาว เป็นแหล่งท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติภูแลนคา ตั้งอยู่ที่บ้านวังคำแคน หมู่ 9 ตำบลท่าหินโงม อำเภอเมือง เป็นกลุ่มหินทรายสีขาวขนาดใหญ่กลางทุ่งหญ้าบนเนินเขา มองเห็นได้เด่นชัดในระยะไกล ลักษณะคล้ายสโตนเฮ็นจ์ (Stonehenge) ของประเทศอังกฤษ มีอายุระหว่าง 197-175 ล้านปี เกิดจากการสะสมของตะกอนทรายแป้ง และดินเหนียวจากทางน้ำ ต่อมาสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง การตกตะกอนเปลี่ยนเป็นทราย ในสภาวะอากาศแบบแห้งแล้งกึ่งร้อนชื้น ทับถมลงบนตะกอนทรายแป้งและดินเหนียวที่เกิดก่อน จึงแข็งตัวกลายเป็นหิน หลังจาก 65 ล้านปีที่ผ่านมา เกิดการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกจากแรงบีบด้านข้างทำให้มีการคดโค้ง แตกหัก ผุพังและการกัดเซาะทั้งในแนวตั้งและแนวนอน ก่อให้เกิดลักษณะของเสาหินและแท่งหินอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ซึ่งมีรูปร่างและลักษณะแตกต่างกันออกไป ตามจินตนาการของผู้พบเห็น บริเวณรอบๆนั้นยังมีกลุ่มหินอีกหลายแห่งซึ่งสามารถเดินศึกษาธรรมชาติได้ ทั้งยังเป็นพื้นที่ศึกษาสังคมของพันธุ์พืชต่างๆ สัตว์ป่าขนาดเล็ก แมลงและเป็นแหล่งป่าต้นน้ำลำธารภูแลนคาซึ่งชาวบ้านทำฝายกั้นน้ำกักเก็บไว้ใช้
การเดินทางไปชมแหล่งท่องเที่ยวผามอหินขาว จากตัวจังหวัดชัยภูมิ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2051 ถนนสายชัยภูมิ – ตาดโตน เป็นทางลาดยางระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายก่อนถึงด่านของอุทยานแห่งชาติตาดโตน ตามถนนตาดโตน – ท่าหินโงม เป็นทางลาดยางประมาณ 12 กิโลเมตร แยกซ้ายตามถนนแจ้งเจริญ – โสกเชือก เป็นทางลูกรัง ระยะทาง 6.5 กิโลเมตรถึงบ้านวังคำแคน จากนั้นเลี้ยวขวาตรงบ้านวังคำแคน เป็นทางลูกรังใช้สำหรับขนพืชไร่อีกประมาณ 3.5 กิโลเมตร ถึง กลุ่มหินชุดแรกของ มอหินขาว รวมระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตรจากตัวเมือง ในช่วงฤดูฝนควรใช้รถยนต์ประเภทรถกระบะหรือรถขับเคลื่อนสี่ล้อ เพื่อความเหมาะสมกับเส้นทาง ถัดจากกลุ่มหินชุดแรกไปเล็กน้อยจะถึงบริเวณลานกางเต็นท์ มีห้องน้ำบริการ จากจุดนี้มีเส้นทางเดินไปยังกลุ่มหินและจุดชมวิว ได้แก่ หินเจดีย์โขลงช้าง ระยะทางเดินเท้า 650 เมตร ลานหินต้นไทร 900 เมตร สวนหินล้านปี 1,250 เมตร และจุดชมวิวผาหัวนาค 2,500 เมตร

ประวัติเจ้าพ่อพญาแล

        
    พระยาภักดีชุมพล เดิมชื่อ"แล" เป็นชาวนครเวียงจันทน์ เคยรับราชการเป็นพี่เลี้ยงราชบุตรในเจ้าอนุวงศ์แห่งอาณาจักรล้านช้าง (ขณะนั้นเป็นประเทศราชของไทย) ในสมัยรัชกาลที่ 2 พ.ศ. 2360 นายแลได้อพยพไพร่พลข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งบ้านเรือนที่บ้านน้ำขุ่นหนองอีจาน (อยู่ในเขตอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา) ต่อมาได้ย้ายไปตั้งใหม่ที่บ้านโนนน้ำอ้อม บ้านชีลอง (อยู่ในเขตอำเภอเมืองชัยภูมิ) และได้ทำราชการส่งส่วยต่อเจ้าอนุวงศ์ เจ้าอนุวงศ์จึงตั้งให้นายแลเป็นที่ขุนภักดีชุมพลนายกองนอก
ใน พ.ศ. 2365 ขุนภักดีชุมพลได้ย้ายชุมชนมาอยู่ที่บ้านหลวง ซึ่งอยู่ระหว่างบ้านหนองหลอดกับบ้านหนองปลาเฒ่า ในเขตอำเภอเมืองชัยภูมิปัจจุบัน เนื่องจากสถานที่เดิมเริ่มคับแคบ ไม่พอกับจำนวนพลเมืองที่เพิ่มขึ้น
พ.ศ. 2367 ได้ที่การพบบ่อทองที่บริเวณลำห้วยชาด นอกเขตบ้านหลวง ขุนภักดีชุมพลจึงได้นำทองในบ่อนี้ไปส่วยแก่เจ้าอนุวงศ์และขอยกฐานะบ้านหลวงขึ้นเป็นเมือง เจ้าอนุวงศ์จึงประทานชื่อเมืองแก่ขุนภักดีชุมพลว่า เมืองไชยภูมิ และเลื่อนบรรดาศักดิ์ให้เป็นพระภักดีชุมพล ทว่าต่อมาพระภักดีชุมพลได้ขอเอาเมืองไชยภูมิขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา และส่งส่วยแก่กรุงเทพมหานครแทน ไม่ขึ้นแก่เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์อีกต่อไป[ต้องการอ้างอิง] พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านหลวง(เมืองไชยภูมิ)เป็นเมืองชัยภูมิ และแต่งตั้งพระภักดีชุมพล (แล) เป็นพระยาภักดีชุมพล (แล) เจ้าเมืองชัยภูมิคนแรก สร้างความไม่พอใจแก่ทางฝ่ายเวียงจันทน์อย่างมาก
ในสมัยรัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์ก่อการกบฏต่อกรุงเทพเพื่อแยกตัวเป็นเอกราช โดยยกทัพเข้าตีเมืองนครราชสีมา แต่เห็นว่าจะทำการต่อไปได้ไม่ตลอด จึงเผาเมืองนครราชสีมาทิ้ง[ต้องการอ้างอิง] และถอนทัพกลับไปตั้งรับที่เวียงจันทน์ ระหว่างทางกองทัพเจ้าอนุวงศ์เกิดความปั่นป่วนจากการลุกฮือของครัวเรือนที่กวาดต้อนไปเวียงจันทน์ ขณะพักทัพอยู่ที่ทุ่งสำริด พระยาภักดีชุมพล (แล) ได้ยกทัพไปสมทบกับคุณหญิงโมและครัวเรือนชาวเมืองนครราชสีมา ทำการตีกระหนาบกองทัพของเจ้าอนุวงศ์จนแตกพ่าย เจ้าอนุวงศ์เกิดความแค้นที่พระยาภักดีชุมพลไม่ยอมให้ความร่วมมือกับฝ่ายลาว ซ้ำยังยกทัพมาช่วยฝ่ายไทยตีกระหนาบทัพลาวอีกด้วย จึงย้อนกลับมาเมืองชัยภูมิ จับตัวพระยาภักดีชุมพล (แล) ประหารชีวิต ที่บริเวณใต้ต้นมะขามริมหนองปลาเฒ่า[ต้องการอ้างอิง]
การเสียชีวิตของพระยาภักดีชุมพล (แล) ในครั้งนั้น เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ชาวเมืองชัยภูมิจดจำตลอดมา และระลึกถึงว่าเป็นวีรกรรมครั้งสำคัญของท่าน[ต้องการอ้างอิง] ต่อมาชาวเมืองชัยภูมิจึงเรียกขานท่านด้วยความเคารพว่า "เจ้าพ่อพญาแล" และได้มีการสร้างศาลไว้ตรงสถานที่ที่พระยาภักดีชุมพล (แล) ถูกประหารชีวิต ที่บ้านหนองปลาเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 (ชัยภูมิ - บ้านเขว้า) ต่อมาใน พ.ศ. 2511 ทางราชการได้สร้างศาลขึ้นใหม่ ให้ชื่อว่า "ศาลพระยาภักดีชุมพล (แล)" และจัดให้มีงานสักการะเจ้าพ่อพญาแลทุกปี โดยเริ่มจากวันพุธ แรกของเดือน 6 เป็นเวลา 7 วัน เรียกว่า "งานเทศกาลบุญเดือนหก ระลึกถึงความดีของ เจ้าพ่อพญาแล" ถือเป็นงานใหญ่ประจำปีของชาวชัยภูมิ และใน พ.ศ. 2518 ทางราชการร่วมกับพ่อค้าและประชาชนชาวชัยภูมิ สร้างอนุสาวรีย์ของพระยาภักดีชุมพล (แล) ประดิษฐานอยู่ตรงวงเวียนศูนย์ราชการ ปากทางเข้าสู่ตัวเมืองชัยภูมิ
ลูกหลานของพระยาภักดีชุมพล (แล) ที่ได้รับราชการเป็นเจ้าเมืองชัยภูมิคนต่อๆ มา ล้วนได้รับยศและบรรดาศักดิ์เป็นที่พระยาภักดีชุมพลทุกคน รวมทั้งสิ้น 5 คน ส่วนเจ้าพ่อพญาแลได้เป็นพระยาภักดีชุมพลได้ 4 ปี เป็นเจ้าเมืองชัยภูมิถึง 10 ปี[1]

ยศที่ท่านได้รับ
ท่านได้รับพระราชทานยศดังนี้
  • พระพี่เลี้ยงราชบุตร ยศนี้ได้รับจากเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์
  • ขุนภักดีชุมพล ยศนี้ได้รับจากเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์
  • พระภักดีชุมพล ยศนี้ได้รับจากเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์
  • พระยาภักดีชุมพล (แล) ได้รับจากเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์
  • พระยาภักดีชุมพล (แล)เจ้าเมืองชัยภูมิคนแรก ได้รับจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

 สถานที่ระลึกถึงพระยาภักดีชุมพล (แล)

  • อนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล (แล)
  • ศาลเจ้าพ่อพญาแล

ผู้สืบต่อยศพระยาภักดีชุมพล

ผู้ที่ได้รับยศพระยาภักดีชุมพลต่อจากท่านนั้นมีดังนี้
  • พระยาภักดีชุมพล ( เกตุ )
  • พระยาภักดีชุมพล ( เบี้ยว )
  • พระยาภักดีชุมพล ( ที )
  • พระยาภักดีชุมพล ( บุญจันทร์ )
  • พระยาภักดีชุมพล ( แสง )
จากสมัยของพระยาภักดีชุมพล (แสง)เสียชีวิตเป็นต้นมา ยศเจ้าเมืองก็เปลี่ยนกลายเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิในปัจจุบันนี้